ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ นางสาว วิชุดา เคนวงศ์ ในรายวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู เชิญชมได้แล้วค่ะ

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4


Google+ (Google Plus) คือโครงการของ Google ที่มีความพยายามมานานหลังจากมีการออกมายอมรับก่อนหน้านั้นว่า Google ขยับตัวช้าไปในเรื่องนี้แถมยังมีข้อเสนอพิเศษให้กับพนักงานที่สามารถคิดโครงการ Social Networks ให้ออกมาประสบความสำเร็จอีกด้วยโดยก่อนหน้านี้เราคงเห็นปุ่ม Google + ที่เปิดตัวกันไปก่อนหน้านี้แล้วซึ่งหลายคนก็ยังมีข้อสงสัยกันอยู่ว่ากดไปแล้วมันจะได้อะไรแหล่งปลายทางของข้อมูลที่กด Google+
นั้นจะไปอยู่ที่ไหนวันนี้ทาง Google เปิดตัว Social Networks ของตัวเองแล้วโดยใช้ชื่อว่า Google + (Plus) นั่นเองโดยเข้าไปเล่นกันได้ที่ https://plus.google.comGoogle + ใช้ชื่อ Tagline เอาไว้ว่า “Real-life sharing, rethought for the web” ซึ่งแน่นอนนี่คือคำเฉลยของข้อมูลจากปุ่ม Google+ ที่ออกมาก่อนหน้านี้จะเห็นว่าใน Google + นั้นมีการใช้คำว่า +Circles คือระบบเพื่อนนั่นเองที่จะสามารถสร้างกลุ่มเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และสามารถกำหนดเป็นกลุ่มๆได้ อย่างเช่น เพื่อน”, “ครอบครัวและกำหนดจำนวนคนในกลุ่มได้มากกว่า 100 คนเพื่อใช้พูดคุยกันบนโลกออนไลน์ได้ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของการพูดคุยกันใน Google + โดยจะทีการใช้ชื่อว่า +Sparks ที่มันจะคอยทำหน้าที่กำหนดสิ่งที่เราสนใจต่างๆเพื่อเข้าไปแชร์ ดูข้อมูลหรือสนทนาได้ (แบบ Group ) ยกตัวอย่างเช่นเราสนใจเรื่อง รถยนต์”, “การ์ตูน”, “แฟชั่นเป็นต้น ซึ่งเราสามารถระบุสิ่งที่ชื่นชอบเหล่านั้นได้แล้วก็จะมีข้อมูล feed เข้ามาให้เราได้ดู คล้ายหลักการการเป็น Fan ของ Facebook นั้นเองที่เรากด Like แล้วเมื่อต้นทางมีการอัพเดทข้อมูลเราก็จะได้เห็นด้วย แต่ +Sparks จะดึงข้อมูลจาก Internet ที่มากกว่าผ่านปุ่ม Google + เข้ามาแสดงผลด้วยซึ่งมันรองรับภาษาถึง 40 ภาษาในช่วงการเปิดตัวนี้เลยฟีเจอร์ต่อไปนี้ถือว่าหลายคนคงชื่นชอบนั้นคือ +Hangouts ฟังชื่อก็รู้แล้วว่ามันต้องเจ๋งแน่ๆ เพราะมันเป็นการกำหนดอนาคตว่าเราต้องการจะไปปาร์ตี้ (ไปทำอะไรก็แล้วแต่) โดยเพื่อนๆสามารถเห็นว่าเรา ว่างพร้อมที่จะออกไปสนุกสนานเรียกให้เพื่อนๆเข้ามาสนุกกับเราด้วย หรือจะเรียกว่ามันคือฟีเจอร์นัดพบก็ว่าได้ แต่มันก็ไม่จำเป็นแค่เพื่อนเท่านั้นที่จะมาเจอหรือจะใครต่อใครก็ได้เช่นกันขาดไม่ได้เลยในยุคนี้คือ Chat และแน่นอน Google ให้ความสำคัญกับฟีเจอร์นี้พอสมควรโดยใช้ชื่อฟีเจอร์นี้ว่า + Huddle ซึ่งมันสามารถทำการพูดคุยกันเป็นกลุ่มๆได้ด้วยเหมาะสำหรับการทำเป็น Gang ซึ่งถ้าหลายคนเคยใช้งาน BlackBerryMessenger คงคุ้นกับการสนทนาเป็น Group messaging นี้ดีและเพื่อให้ Google + สมบูรณ์แบบก็จะต้องมีบนมือถือด้วยโดย Google + พร้อมให้ดาวน์โหลดไปใช้บนมือถือที่เรียกว่า +Mobile โดยมีฟีเจอร์ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นครบสมบูรณ์บนมือถือกันเลย ซึ่งในอนาคตมันคงจะเข้าไปอยู่บนระบบ Android ที่เป็นระบบปฏิบัติการบนมือถือของ Google อีกด้วย โดยไปดาวน์โหลดมาใช้งานกันได้แล้วที่ A ndroid marketว่าแล้วก็ไปลองใช้ Social Networks ตัวล่าสุดนี้กันเลยว่าจะสู้ Facebook อย่างที่ทาง Google คาดหวังไว้หรือไม่ขณะนี้ (13 กค.54) ผู้ใช้ google+ มียอดคนใช้ถึง 10 ล้านคนทั่วโลกแล้ว



Google Plus  มีการจัดการกลุ่มเพื่อนได้ดีกว่า Facebook


Google Plus  เป็น Multi-level social network คือ แทนที่ทุกคนจะเป็นเพื่อนกันหมด (Single level) เวลาเรา post หรืออัพเดต อะไร ทุกคนที่เป็นเพื่อนเราก็จะเห็นหมด แต่ใน Google+  เราสามารถจัดกลุ่มคนที่อยู่ใน contact list หรือรายชื่อที่ติดต่อ ของเราได้ซึ่ง Google+ เรียกการแบ่งกลุ่มว่า Circle แล้วเราสามารถ เลือกที่จะแบ่งบัน post, รูป ข้อความกับกลุ่มไหนก็ได้ หรือกับทุกกลุ่มก็ได้ ซึ่งถือว่านี้แหละคือจุดต่างจุดใหญ่ และหลายๆ คนอาจจะบอกว่า Facebook ก็สามารถสร้าง Group ได้เหมือนกัน แล้วเราก็ set ให้ Group เราเป็น private ซะ เวลาเรา post อะไรใน Group ก็จะมีแค่คนในกลุ่มเท่านั้นที่มองเห็นแต่จุดด้อยของ Facebook ก็คือ คนที่อยู่ในกลุ่มเค้าจะรู้ว่า เค้าอยู่ในกลุ่มอะไร (อาจเสียใจถ้ารู้ว่าถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่สำคัญ) ซึ่ง ใน Google Plus  คนอื่นไม่สามารถรู้ได้ว่า เค้าอยู่ในกลุ่มอะไรของเรา แล้วเค้าก็จะเห็นสิ่งต่างๆ ของเรา เฉพาะสิ่งที่เราอยากให้เค้าเห็น โดยเค้าก็ไม่รู้ว่าเราให้คนอื่นเห็นอะไรบ้างGoogle plusGoogle+ มีการฟังก์ชั่นในการ Chat ที่สมบูรณ์กว่าในการ Chat กัน Google+ มีการฟังก์ชั่นในการ Chat ที่สมบูรณ์กว่า นั้นก็คือ Google ได้นำระบบบางอย่างบน Google Talk มาปรับใช้กับ Google+ โดยการทำให้สามารถใช้ Video Chat ได้, คุยกันเป็นกลุ่ม Circles ได้ ซึ่งอันนี้ก็ถือว่าน่าจะเหนือกว่า Facebook  แล้วGoogle Plus  มีระบบการ Share ที่สมจริงกว่านอกจากนั้น การเพิ่มเพื่อนใน Google+ ก็ไม่จำเป็นต้องร้องขอ ไม่ต้องรอเค้าอนุญาต เราสามารถ เพิ่มเพื่อนได้เลย ใน Google+ เรียกว่า “add to circle” แล้วเวลาเราต้องการ share หรือแบ่งปัน อะไรให้ทุกคนเห็นเราก็ทำได้ โดยการเลือก public เวลาที่จะ post ซึ่งมันก็เหมือนกับ Twitter ที่เราสามารถ follow  ใครก็ได้ และก็ Share ข้อความให้ทุกคนที่ follow เราได้แต่ใน Google+ จะไม่ได้จำกัดแค่ 140 ตัวอักษรเหมือนใน Twitter แต่ Google+ สามารถ Share รูป, Share วีดีโอได้ในตัวอีกด้วย ทำให้ Google+ นอกจากจะเป็นคู่แข่งโดยตรงของ Facebook แล้ว  , Google+ ยังเป็นคู่แข่งโดยตรงของ Twitter อีกต่างหากGoogle Plus  ทำของเดิมให้ดีกว่า ง่ายกว่าเหมือนกับว่า Google+ หรือ Google Plus นั้น ได้รวมเอา  Facebook มาผสมผสานกับ Twitter และมีการเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานให้ง่ายขึ้น และฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ ก็ดูน่าสนใจ ทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้สะดวกขึ้น ซึ่งทำให้ Google+ น่าสนใจมากขึ้น และมีการปรับฟังก์ชั่นการทำงานให้ง่ายขึ้น มีความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น เพราะเราสามารถโพสอะไรก็ได้ และสามารถที่จะตั้งค่าได้ว่าจะให้ใครเห็นข้อความ รูปภาพที่เราโพสไปบ้าง โดยที่เพื่อนของเราไม่สามารถเห็นได้ทุกคน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นที่สำคัญเลยก็ว่าได้


มารู้จักส่วนต่างๆ บน Google+





วิธีโพสต์ข้อความ รูปภาพ วีดีโอ ลิงค์และตำแหน่งที่ตั้งบน Google+






ย่อ URL Profile Google Plus ให้สั้นๆ ด้วย Google Plus Nick!!





Google+ Widget สร้างกูเกิลพลัสโปรไฟล์สุดเท่พร้อมฟีดอัพเดท ติดเว็บง่ายๆ




เล่น Google+ ไปพร้อมๆ กับเล่น Facebook และ Twitter ด้วย G++




ค้นหาและดูโปรไฟล์ผู้ใช้งาน Google+ ทั่วโลก ด้วย Find People On Plus




วิธีการ ตั้งค่าโปรไฟล์ กูเกิลพลัส (Google+)






สร้าง Avatar Google+ Profile 6 แบบ 6 สไตล์ ด้วย +Me







แจ้งเตือนความเคลื่อนไหวจาก Google Plus บน Desktop ด้วย Google+ Notifier





Plusya – ย่อลิงค์ Google Plus โปรไฟล์พร้อมระบบสถิติการเข้าชม




ใส่ Background ให้ Google Plus ด้วย Layouts for Google Plus™





วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment3

   ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาวิชาอะไรก็ได้ในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมา1ระบบ อธิบายละเอียดโดยใช้ IPO มาพอสังเขป

วิชา ศิลปะสำหรับเด็กกปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
Input
                 วัตถุประสงค์

   1   อธิบายหลักการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยได้
   2   จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง
   3    ยกตัวอย่างการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กได้
   4    สรุปแนวคิดการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กได้
               
           แผนการสอน
   
 1    ศึกษากิจกรรมที่จะสอนเด็กในแต่ละวัน
 2    สาธิตแนวการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็ก
 3    บันทึกพฤติกรรมเด็กขณะทำกิจกรรมศิลปะแล้ววิเคราะห์เป็นรายบุคคล

            เนื้อหา 


   กิจกรรมศิลปะ


        สำหรับเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยในวัย 1 – 3 เด็กวัยนี้โครงสร้างสมองซีกขวาซึ่งเกี่ยวกับศิลปะ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ดีมาก ถ้าส่งเสริมอย่างถูกทิศถูกทางและทำให้เกิดพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อไหร่ที่เราไปขัดขวางพัฒนาการ บีบบังคับ สร้างความเป็นระบบแบบแผนมากเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขัดขวางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ไทยยังไม่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นว่าทุกวันนี้เราพยายามสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กไทยมากขึ้น หากแต่บางครั้งก็ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์จึงต้องต่างกันไป เด็กในวัย 1 – 3 ปีต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ เราจะเน้นให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เมื่อเขาสนุกและเพลิดเพลิน แล้วจะทำให้เขาสามารถคิดอะไรได้แปลกใหม่อย่างมีอิสระและเสรีภาพ คนที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กต้องเข้าใจ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสร้างสถานการณ์ของการเรียนการสอนได้ ในการพัฒนาเสรีภาพการเขียนการคิดได้อย่างแท้จริง วิชาศิลปะเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดจินตนาการได้เต็มที่ตามที่ได้เห็น เด็กสามารสร้างจินตนาการได้กว้างกว่าที่เราจะคาดเดาได้ บางที ก็อาจจะสะท้อนจิตใจความรู้สึกของเด็กที่บางที่ไม่สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดได้แต่สามารถถ่ายทอดมาทางงานศิลปะได้ วิชาศิลปะเป็นฐานทางการศึกษาพัฒนาการเด็กซึ้งควรเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่การเรียนการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นจะมุ่งเน้นถึงพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กมากกว่าผลงาน ดังนั้นจะเห็นว่ากิจกรรมต่างๆทางศิลปะจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงและสัมพันธ์กับการใช้ตา เช่นการปั้นแป้ง ดินน้ำมัน วาดรูป และระบายสี เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆของนิ้วมือ แขน ไหล่ และส่วนอื่นๆของร่างกาย เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่-เล็กเป็นอย่างดี ทำให้เด็กสามารถหยิบจับสิ่งต่างๆได้ อันจะนำไปสู่การเรียนของเด็กต่อไป ศิลปะกับความคิดสร้างสรรค์ นักจิตวิทยาทางการศึกษาทั่วโลกเชื่อกันว่าเด็กทุกคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้ตามระดับความสามารถของแต่ละบุคคล ถ้าหากเด็กนั้นๆได้รับการเสริมและสนับสนุนให้มีการแสดงออกภายใต้บรรยากาศที่มีเสรีภาพ สำหรับเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ในตัว สามารถพิจารณาจากพฤติกรรมได้หลายด้านดังนี้ 1.การเป็นผู้กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา 2.การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง 3.การเป็นผู้ชอบสำรวจตรวจสอบความคิดใหม่ๆ 4.การเป็นผู้เชื่อมั่นในความคิดของตังเอง 5.การเป็นผู้สอบสวนสิ่งต่างๆ 6.การเป็นผู้มีประสาทสัมผัสอันดีต่อความงาม จะเห็นได้ว่าการสร้างสรรค์ คือการเจริญงอกงามทั้งด้านความคิด ร่างกาย และพฤติกรรมและศิลปะคือ เครื่องมือที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะกระบวนการทางศิลปะไม่มีขอบเขตแห่งการสิ้นสุด สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เด็กได้ตลอดเวลานอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กเกิดความคิดที่ต่อเนื่องอย่างไม่จบสิ้น และก้าวไปยังโลกแห่งจินตนาการอย่างไม่มีขอบเขต การวาดรูป (drawing) และการระบายสี (Painting) เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา ภาพที่จะเห็นต่อไปนี้เป็นภาพที่วาดโดยเด็กปฐมวัยอายุ 3-4 ขวบ เป็นภาพที่วาดตามความคิดและจินตนาการของเด็กเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ้งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา และกิจกรรมนี้จะสอนให้เด็กๆวาดรูปได้ โดยเริ่มจากเส้นก่อน สำหรับน้องๆที่เพิ่งเริ่มหัดวาดรูป จากนั้นจะหัดวาด สิ่งต่างๆรอบตัว เด็กๆจะได้รู้จักกับรูปร่าง Shape และรูปทรง Form ต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการวาดในขั้นสูงต่อๆไป ส่วนการระบายสีภาพนั้นเด็กๆจะได้ฝึกใช้สีหลายๆชนิด ได้แก่ สีไม้ สีชอลค์ สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีเมจิก สีเทียน สีอะครีลิค สีผสมอาหาร พร้อมทั้งรู้วิธีการระบายสีให้เกิดความสวยงาม การปั้นหรือที่เรียกว่างานปะติมากรรม (Sculpture) เด็กๆจะได้เรียนรู้การปั้น modelling แบบง่ายๆโดยใช้ดินน้ำมันที่มีสีสันต่างๆเรียนรู้เทคนิค การปั้นแบบนูนต่ำ แบบนูนสูงและลอยตัว เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือนอกจากนี้เด็กๆยังได้ทำงานปะติมากรรมแขวนหรือโมบายล์ mobile เด็กๆใช้ดินน้ำมันหรือ ดินเหนียว แป้งโด ฯลฯ มาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการของเด็กแต่ละคนซึ้งจะแตกต่างกันไป เป็นการฝึกสมาธิ และพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของเด็กเด็กจะได้เรียนรู้รูปร่างต่างๆ กิจกรรมกระดาษ (Papers) เด็กๆจะได้ฉีก ตัด ปะ ม้วน พับขยำกระดาษต่างๆ เช่น กระดาษสี กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษทิชชู่ หนังสือแมกกาซีนต่างๆ ที่เป็นกระดาษอาบมัน กระดาษกล่อง ฯลฯ และนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดงานศิลปะต่างๆ การพิมพ์ภาพ (paint Making)เป็นการสร้างภาพหรือลวดลายที่เกิดจากการนำวัสดุหลายๆประเภท เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ก้านกล้วย หรืออวัยวะของร่างกาย เช่น มือ เท้า มาใช้เป็นแม่พิมพ์กดทับลงบนสีแล้วนำไปพิมพ์บนกกระดาษหรือผ้าก็ได้ และเด็กๆจะได้พิมพ์ภาพจากวัสดุต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ใบไม้ ดอกไม้ ก้านกล้วย มันเทศ ฯลฯ มาทำให้เกิดเป็นภาพต่างๆ เป็นการเรียนรู้ วิธีการ และเทคนิคใหม่ๆ ในการทำงานอีกด้วย การประดิษฐ์สร้างสรรค์ (Creative Crafts) เด็กๆจะได้ทำงานประดิษฐ์ ที่ทำจากวัสดุต่างๆ เช่น กล่อง กระป๋องนม ลูกปัด หลอด ไม้ไอติม เศษผ้า ริบบิ้น ฯลฯ ทำให้เกิดประสบการณ์ทางด้านความคิด สร้างสรรค์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เรียนศิลปะช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้จินตนาการอย่างอิสระ ซึ่งจะมีผลให้เด็กเป็นคนกล้าคิด กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ๆทำให้เด็กได้แสดงออกถึงสิ่งที่ตนคิดและรู้สึกโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารทางตัวอักษรได้ดีทำให้เด็กรักการทำงานและมีความภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของเด็กแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นลง เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานของเขามาก ทำให้กระตือรือร้นที่จะสร้างผลงานชิ้นใหม่ต่อไปช่วยฝึกความประณีตและสมาธิเพราะในขณะที่เด็กพยายามควบคุมมือให้สามารถวาด ระบายสีหรือประดิษฐ์สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จนั้นต้องใช้ความตั้งใจ ความพยายามและใช้สมาธิที่แน่วแน่มั่นคงตามวุฒิภาวะของเด็กแต่ละวัย ทำให้เด็กเป็นคนมีสุนทรียภาพ มีความละเอียดอ่อนในจิตใจ ทำให้รู้คุณค่าในธรรมชาติ ศิลป วัตถุ หรือรูปแบบความคิดต่างๆ ทำให้มีชีวิตและจิตใจที่งดงาม ฝึกให้เด็กรู้จักการทำงานร่วมกัน รู้จักปรับตัวและปรับความคิดให้สอดคล้อง ยอมรับซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีและเป็นประชาธิปไตยในสังคม ประโยชน์ของการส่งเสริมเด็กทางด้านศิลปะ เป็นการฝึกทักษะทางด้านศิลปะให้ดีขึ้น ให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออกอย่างอิสระ รู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้มีสมาธิในการเรียนที่ดีขึ้น และยังมีผลถึงพัฒนาการด้านอื่นๆทั้งหมด การที่เด็กได้ทำมาก ฝึกฝนมากจะยิ่งช่วยให้เด็กเกิดความชำนาญมากขึ้นอีกด้วย ถือเป็นการสั่งสมประสบการณ์อันมีค่ายิ่งของเด็ก หากเด็กได้รับการสนับสนุนให้สร้างสรรค์ศิลปะ อย่างต่อเนื่องก็เท่ากับว่าเป็นทางหนึ่งซึ่งสั่งสมความคิดสร้างสรรให้เกิดขึ้นกับเด็ก อย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพราะศิลปะมีกระบวนการ และธรรมชาติที่เอื้อแก่การพัฒนาทางสมอง เพื่อเพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดยิ่งเด็กมากเท่าไร สติปัญญาของเด็กก็จะเติบโตมากเท่านั้น และหากการได้คิดมากๆ คือการทำให้สมองแหลมคม การที่เด็กได้ขีดเส้นลงไปแต่ละเส้น หรือระบายสีก็ล้วนมีผลทำให้สมองได้ทำงานอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

  อ้างงอิง     http://www.google.co.th/ http://www.tasapon.com/ http://www.dekthaischool.com/
                    หนังสือเรียนศิปะสำหรับเด็กปฐมวัย


               อุปกรณ์ประกอบการสอน

1  กระดาษ A4     2  สีเทียน   3   ดินสอ  4  ยางลบ

Process

        1   เด็กได้ฝึกกล้ามเนื้อมือให้สัมพันธ์กับสายตา         2  เด็กได้ใช้ความคิดส้างสรรค์         3  เด็กเกิดความสนุกกับกิจกรรมที่ทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ครูจะสามารถรู้ได้ต้องประเมินกิจกรรมของนักเรียนทุกคนว่าคนไหนมีพัฒนาการเป็นอย่างไรบ้าง


Output
          1  งานประดิษฐ์ศิลปะที่ได้ทำ          2   ความเข้าใจ          3   การนำไปใช้ประโยชน์          4   งานที่ได้ทำสิ่งต่างๆนี้เด็กๆจะได้ความรู้มากมายหลายอย่างจากกิจกรรมที่เขาได้ทำด้วยตัวเองและเกิดความสุกสนาน เช่น เขาได้ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ เขาได้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน

การผลิตน้ำตาล

Assignment2

 การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นsystem หรือไม่ (ถ้าจัดว่าเป็นให้อธิบายตามลักษณะทางกายภาพของระบบ  ว่าอะไรบ้างเป็น (input process output)

input



กระบวนการผลิตน้ำตาล
1.
กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) :

ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2.
การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย
(Juice Purification) :

น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.
การต้ม (Evaporation) :

น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.
การเคี่ยว (Crystallization) :

น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :

แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ

อ้างอิง

http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html

Process


1.
การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) :

นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2.
การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) :

น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3.
การเคี่ยว (Crystallization) :

น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :

แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5.
การอบ (Drying) :

ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย
output   ที่ได้คือ


1. กากน้ำตาล (อังกฤษ: molasses "โมลาส") มีรากศัพท์มาจากคำว่า “melaço” ในภาษาโปรตุเกส กากน้ำตาลเป็นของเหลวลักษณะเหนียวข้นสีน้ำตาลดำ ที่เป็นผลพลอยจากการผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งไม่สามารถจะตกผลึกน้ำตาลได้อีก เป็นเนื้อของสิ่งที่ไม่ใช่น้ำตาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำอ้อย ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท (invert sugar) และสารเคมี เช่น ปูนขาว ที่ใช้ในการตกตะกอนให้น้ำอ้อยใส[2] กากน้ำตาลมีระดับพลังงานระดับต่ำถึงปานกลางขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่มีอยู่ในกากน้ำตาล มีโพแทสเซียม และมีปริมาณน้ำในระดับสูง ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย

2. คาราเมล (อังกฤษ: caramel) หรือ น้ำตาลที่ผ่านความร้อนจนได้อุณหภูมิที่เหมาะสม เดิมทีคือสิ่งที่เกิดจากการเปลี่ยนสถานะและรสชาติของน้ำตาลโดยใช้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิ 160-170 องศาเซลเซียส) ช่วงก่อนถึงจุดความร้อนดังกล่าวนั้นน้ำตาลจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว และจะเริ่มเปลี่ยนสีเข้มขึ้นพร้อมทั้งมีรสชาติที่ซับซ้อนมากขึ้นตามระดับอุณหภูมิ แต่การทำคาราเมลจากน้ำตาลโดยตรงมีอัตราเสี่ยงต่อการไหม้สูง จึงนิยมใช้น้ำเป็นตัวทำละลายในตอนเริ่มต้น(น้ำเชื่อม) และผ่านความร้อนจนน้ำหรือความชื้นระเหยออกไปมากพอที่น้ำตาลจะเริ่มกระบวนการเปลี่ยนสถานะ น้ำเชื่อมที่ผ่านความร้อนถึงอุณหภูมิต่างกันจะมีความข้นเหนียวและความเปราะต่างกันไปจนถึงขั้นสุดท้ายตามตาราง
                3.วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล หรือเรียกโดยย่อว่า น้ำตาลเทียม เป็นกลุ่มของวัตถุหรือสารที่มีรสหวานสามารถใช้ปรุงอาหารแทนน้ำตาลได้ ในทางวิชาการ วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารกลุ่มหนึ่ง ที่มีสมาชิกอยู่หลายตัว เช่น แอสปาร์แตม แซกคารีน

                
           4.ซูโครส (อังกฤษ: Sucrose) เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า น้ำตาลทราย (table sugar) ซูโครส 1 โมเลกุลประกอบด้วยมอโนแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุลได้แก่กลูโคสและฟรุคโตส

     อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5

เฉลยการบ้าน
Input

1 โรงงานน้ำตาล
2  เครื่องจักร
3  วัตถุดิบ
4  แรงงาน
5  เงินทุน

Process

  1  การสกัดน้ำอ้อย
  2 การทำความสะอาดน้ำอ้อย
  3 การต้มให้ได้น้ำเชื่อม
   4 การเคี่ยวให้เป็นผนึกน้ำตาล
การปั่นแยกผนึกน้ำตาล
การอบ
การบรรจุถุง

Output

น้ำตาลทราย
กากน้ำตาล
ซานอ้อย